วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551

ลาว คือประเทศ ไม่ใช่ลาว คือคนอีสาน

ลาว คือประเทศ ไม่ใช่ลาว คือคนอีสาน

นครพนม” คือเมืองแห่งภูเขา เมืออดีตคือเมืองศรีโคตรบูรณ์ แต่ นครพนม ปัจจุบันคือเมืองแห่ง ชนเผ่า มีภูเขาอยู่ 2 ที่ คือ ภูพานน้อยนาแก กับภูลังกาบ้านแพง สปอร์ตโฆษณาสถานที่พักผ่อนบางแห่งหรือ แม้แต่ของทางราช บอกว่า นครพนม คือ เมืองแห่งขุนเขา และสายน้ำ

ผมได้ร่วมเดินทางไปกับ คณะหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและธรรมชาติจังหวัด นครพนม ของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ตามโครงการอบรมวิทยากรท้องถิ่นและเผยแพร่ความรู้ เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมและธรรมชาติ”ตามรอยศรีโคตรบูรณ์(ระยะที่3)” ณ แหล่งศิลปกรรม(นครพนม-สปป.ลาว-ท่าแขก-มหาชัย)เมื่อวันจันทร์ทีj 30 มิถุนายน 2546 คณะผู้ร่วมเดินทางล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของนครพนมร่วม 50 คน

0000หลายท่านเคยไปท่าแขก ทะลุถึงเวียตนาม หลายท่านเคยมองเห็นท่าแขก จากฝั่งนครพนมหลายคนเดาออกว่า ท่าแขก กับนครพนม มีวิถีชีวิตที่ไม่แตกต่างกัน ภาษา การดำรงชีวิต อาชีพหลัก คล้ายคนลาวอีสาน แตกต่างกันตรงที่ การเมืองการปกครอง ไทยมีเสรีเกือบชั่วชีวิต ลาวถูกครอบงำจากเจ้าลัทธิตลอดชั่วชีวิตคน ทุกครั้งที่ผมไปลาว ต้องเปรียบสถานะอายุในสภาพที่เห็นเป็นเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา สภาพของผู้คนบ้านเรือน โรงเรียน ถนนหนทาง เหมือนเมื่อผมเป็นเด็ก เกิดมาเห็นบ้านผาขัดแตะมุงจาก ใต้ถุนบ้านมีวัว ควาย ผูกไว้ ฝ่ายผู้หญิง ใส่ผ้าถุง ฝ่ายผู้ชาย นุ่งผ้าขาวม้า รองเท้าไม่ต้องถามถึง โรงเรียนมีอาคารหลังเดียวยกพื้นสูงบ้าง ติดดินบ้าง มีหญ้ารกเต็มไปหมด สนามฟุตบอล มีเสาไม้เป็นเสาประตูกั้นเขต 2 ข้างหันหน้าเข้าหากัน ตามสภาพของที่โล่งที่มีในบริเวณโรงเรียน ประตูหน้าต่างอาคารไม่ต้องใส่กุญแจ ผากระดานห้องบางด้านหายไปเกือบทั้งแถบ ปิดเทอมทีต้องมาเรียนกันใหม่ เพราะเด็กแทบจำครูไม่ได้ 2 เดือนบ้าง 3 เดือนบ้างตามฤดูกาล เช่นปักดำ เก็บเกี่ยว ถนนหนทางเหมือนทางไปนา ถามชาวบ้านว่าลำบากไหม? เขาตอบว่าไม่เพราะ ไม่สิ้นเปลือง ไม่วุ่นวาย ไม่มีอุบัติเหตุ ถามอีกว่า หากินกันยังไง? ” เข้าเต็มเล้า ปูปาหากิน ”ช่างเป็นคำตอบที่เหมือนกับคุณตาผมพูดกับลูกหลานเมื่อผมเป็นเด็ก

0000นครพนม มีเขา 2 ลูก ดังกล่าว ภูลังกาบ้านแพง เป็นอุทยานแห่งชาติ ถูกรัฐเข้าครอบครองเบ็ดเสร็จ มีน้ำตก 2 แห่ง คนไปเที่ยวไม่เคยขาด ภูพานน้อยนาแก ก็เป็นที่ท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ อันสำคัญยิ่งของนครพนม ถ้าเนรมิต เสกสรรปั้นแต่ง หรือใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ ยกเอาภูเขา จากฝั่งท่าแขก มาไว้ที่ข้าง ๆ หนองญาติ สัก 1 ลูก เอาไว้แถวบ้านกลาง สัก 1ลูก คงทำเงินให้ท้องถิ่นได้ไม่น้อย
เส้นทางกำหนดการ ตามรอยศรีโคตรบูรณ์ ในครั้งนั้น ตามถนนหมายเลข 12 ตั้งแต่ ท่าแขก-นาเผ้า- จาลอ ถึงเมืองมหาชัย สิ่งที่ได้พบเห็นมันช่างแตกต่างกันกับ ที่เรายืนมองจากฝั่งเมืองนคร เทือกเขาที่มองเห็นเป็นทิวยาวเหยียด เหมือนรูปวิวที่เด็กชอบวาด มันเป็นเพียงม่านบังตา เพราะ 2 ข้างทางเป็นเทือกทิวเขา สลับซับซ้อน หลายร้อยลูก เป็นภูผาเหมือนกำแพงเมืองในจินตนาการ ที่มียอดสูงต่ำ รูปทรงแปลกตา แตกต่างกันไปไม่ใช่เทือกเขา ที่ติดกันเป็นทิวยาว เหมือนเรามองเห็น เห็นแล้วเกิดความอิจฉาลาว ที่ไม่ได้เกิดในจังหวัดที่มีชื่อว่า เมืองแห่งภูเขา กลับมีภูเขามากหมาย จนนับไม่ถ้วน รูปทรงแปลกประหลาด สลับซับซ้อน ตัดกับสายเมฆหมอก และป่าไม้ อันอุดมสมบูรณ์ เป็นทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามยิ่งนัก งามจนน่าอิจฉาครับ
ภูลังกาบ้านแพงลูกเดียว ยาวไม่กี่กิโลเมตร มีน้ำตก มีถ้ำหลายถ้ำ มีสิ่งที่ยังไม่ค้นพบอีกมากมาย แล้วภูผาในเมืองท่าแขกเล่า จะมีน้ำตก และ ถ้ำอีกกี่แห่ง อันเป็นขุมทรัพย์มหาศาล ที่ทำเงินได้แล้วจะไม่ให้อิจฉาได้ยังไงกัน
ธรรมชาติ ก็คือ ธรรมชาติครับ ถ้าภูผาหินเหล่านั้นอยู่ฝั่งไทยป่านนี้คงมี ธงเหลือง ธงแดง เข้าไปหมายเขตเป็น สำนักสงฆ์ ไปหมด บางลูกอาจถูก ผู้มีอิทธิพล เข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาพ สร้างที่พักตากอากาศ สร้างที่อยู่อาศัย สร้างสนามกอล์ฟ ออกเอกสารสิทธิ์ เป็นเจ้าเข้าครอบครอง จนไม่เหลือแล้วก็ได้ อยู่ในลาว ให้คนลาว ดูแลดีแล้ว อย่างน้อย ๆ นครพนม ก็พลอยได้รับส่วนแบ่งธรรมชาติ ที่ยังอุดมสมบูรณ์ให้มีฤดูกาลตามกำหนด เพียงแต่ทำอย่างไรที่ นครพนม จะฉกฉวยโอกาสดึงนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัด และที่อื่นมาเที่ยวที่บ้านเรา โดยใช้ลาวเป็นจุดขาย เพราะอย่างน้อย ๆ ท่าแขก ก็ได้ชื่อว่าต่างประเทศและเป็นประเทศที่ไม่ต้องมีล่ามมาแปลให้เสียบรรยากาศในการเที่ยว ลำพังนครพนมหาจุดขายของตัวเองคงขายหมดแล้วนักท่องเที่ยวเห็นแล้วรู้แล้ว
เห็นผู้หลักผู้ใหญ่ ของทั้งสองประเทศคุยกันตลอดในเรื่องต่างๆ ทั้งการบริการ ค่าผ่านแดน ค่าเหยียบดิน ค่าเรื่อโดยสาร ทั้งลาว และไทย ก็ยังเห็นทุกอย่างปรกติวิสัยอยู่ โดยเฉพาะ รถสามล้อโดยสาร ของบ้านเราเห็นนักท่องเที่ยวเป็นอาหารอันโอชะ คอยขูดรีดจนนักท่องเที่ยวเอือมระอา ทั้ง ๆ ที่คนไทยมีความเป็นอินเตอร์กว่าลาว ทั้งเทคนิค และวิธีการ ทำอย่างที่จะให้คนข้ามไปเที่ยวที่ลาว แล้วกลับมานอนที่นครพนม ขั้นตอนการ ขอหนังสือข้ามฟาก เรือโดยสาร ยังไม่เห็นมีชูชีพสักลำ คนโดยสารมีกี่คนก็อัดกันลงไปทั้งคนทั้งของ สิ่งเหล่านี้ควรกวดขันกันบ้างก็จะดีนะครับ นี่ก็ใกล้ งานออกพรรษาไหลเรือไฟ จะเปิดตลาดนัดอย่างเดียวเพราะเก็บเงินค่าออกร้านจากพ่อค้าได้เป็นกอบเป็นกำ เหมือนทุกปีที่ผ่านมาคงไม่มีใครอยากมาเที่ยวมากนัก เพราะที่ไหน ๆ ก็มีสินค้าเหมือนกันครับเจ้านาย พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ

ครูอารมณ์
4 กรกฎาคม 2546

1 ความคิดเห็น:

ລູກຊາວດອນ กล่าวว่า...

นะครพนม
นคร แปลว่าเมือง
พนม มาจาก ประนม (นบไหว้) บ่แม่นภูเขา
แต่ตั้งชื่อตามพระธาตุ