วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2551


ยุบ อบจ.
000อบจ. คือ คำย่อของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีคณะผู้บริหาร และ คณะนิติบัญญัติ เช่นเดียวกับสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนเรียกว่า ส.ส. และเรียก ส.จ.แทนสมาชิกสภาจังหวัด
อบจ. คือ โรงเรียนการเมืองของ ส.ส. ในอดีตทุกพรรคการเมือง จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ส. ส. ต้องเล็งหาดาว จากสมาชิกจังหวัด หรือ ผู้มีแววทางการเมือง จากสนาม ส.จ.เพราะสนับสนุนง่ายคนรู้จักทั่วไปโอกาสได้รับเลือกเป็น ส.ส.ง่ายและแน่นอนกว่าตัวแทนจากสังกัดอื่นๆ
ในห้วงเวลาที่ผ่านมากระแสข่าว เริ่มสับสน หลายประเด็น ทั้งแนวคิดที่จะให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากกระทรวงใดก็ได้ (ผู้ว่าซีอีโอ) กำลังถูกคัดค้าน และทดสอบว่า เป็นไปได้หรือไม่ เรื่องยังไม่จบเพราะ อยู่ระหว่างการคิดค้นกระบวนการในทางปฏิบัติของฝ่ายรัฐบาล ขณะเดียวกันมีแนวคิดอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งรัฐบาล พตท.ทักษิณ กำลังหาบทสรุป นั่นคือ ระบบการเลือกตั้งผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลก็ดี เทศบาลก็ดี องค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ดี จากเดิมผู้บริหารองค์กรเหล่านี้ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจากสมาชิกสภาของแต่ละท้องถิ่น ต่อไปจะเปลี่ยนเป็นเลือกตั้งทางตรง โดยประชาชน ซึ่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) ไม่เห็นด้วยด้วย เหตุผลที่ว่าต้องใชัเงินเลือกตั้งมาก ทำให้เป็นภาระ กับงบประมาณของประเทศ สิ้นเปลืองมากกว่าเลือกส.ส.และ ส.ว.เสียอีก โดยพูดกันทำนองนั้น เรื่องเลยคาราคาซังมา ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2546 แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวอีกกระแสหนึ่งแจ้งว่า ที่ฝ่ายรัฐบาลชะลอเรื่องนี้ไว้ก่อน เพราะ พตท.ทักษิณ ต้องการเห็นภาพรวมว่าควรจะใช้รูปแบบการเลือกตั้งอย่างไร โดยรอฟังผลการศึกษาของคณะกรรมการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา และอุปสรรค ของการปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งระบบ ปรากฏว่าส.ส.ไทยรักไทย หลายคนมีความเห็นว่าควร ยุบองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ยุบ อบจ.)เนื่องจากภารกิจ และพื้นที่ทับซ้อนกันกับ เทศบาล และ อบต. ซึ่งเรื่องนี้ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสมาบ้างแล้ว และทุกครั้ง จะถูกคัดค้านจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งรวมตัวกันในนามของสมาพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย คราวนี้ก็เช่นกัน สมาพันธ์ได้ประชุมท่าทีต่อเรื่องนี้แล้วใน วันที่ 13 มิถุนายน 2456 ที่ผ่านมาเรื่องราวจะจบลงอย่างไร ก็ดูที่ เหตุ และผล ต่อไป ครับ ทั้งเรื่องที่มาของผู้ว่า และ การยุบ อบจ. สำหรับผู้สนใจปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าติดตามทั้งคู่ เพราะจะส่งผลถึงความเข้มแข็งของสังคมไทยในอนาคตของสังคมไทยทีเดียว ประเด็นที่น่าสนใจคือ อบจ. เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นเดียวกับ เทศบาลและ อบต. เหตุใด ส.ส.ไทยรักไทย จึงไม่เลือกที่จะยุบ อบต.ซึ่งมีอยู่มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ บางแห่งมีพื้นที่เล็กมาก ประชาชนมีจำนวนน้อยมาก รวมเป็นเทศบาล หรือไม่ก็ยุบรวมเทศบาล เป็นอบจ. แต่กลับมุ่งไปที่การยุบ อบจ.เป็นหลัก ขณะเดียวกันเกิดคำถามว่าแทนที่จะ ยุบอบจ.ทำไม ไม่สนับสนุนให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะการปกครองส่วนท้องถิ่นทำนองเดียวกับกทม. โดยเริ่มจากจังหวัดที่มีความพร้อมไปก่อน ซึ่งก็คือลดบทบาทส่วนภูมิภาคลงไปทีละน้อยๆนั่นเอง ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลขณะนี้ กำลังสร้างความเข้มแข็งกับการปกครองส่วนภูมิภาค ภายใต้แนวทางผู้ว่าซีอีโอ หากส่งเสริมให้ อบจ. ในฐานะท้องถิ่นเข้มแข็งย่อมเป็นคู่แข่ง และอุปสรรค กับแนวทางผู้ว่าซีอีโอได้ เพราะเกรงว่าหาก อบจ.ใด เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ ต่อไปการเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าโดยตรงเต็มรูปแบบจะตามมา ใช่หรือไม่ ซึ่งการเมืองไทยยังไม่ยอมรับกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง ระดับชาติ จะคิดอย่างไร มีเหตุผลอย่างไร ความคิดต่างเหล่านี้เป็นเรื่องท้าทายให้คิดตาม ว่าในบั้นปลายแล้วทิศทางใด จะสร้างสังคมที่เข้มแข็ง มีคุณภาพ สมานฉันท์ เอื้ออาทร ชาวบ้านมีความสุข มีอิสระเสรีภาพช่วยเหลือตัวเองได้มากกว่ากัน

0000ณ วันนี้ สิ่งที่สังคมต้องการคือ ความชัดเจน ของเหตุ และผล ที่รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง จนกระทั่งการจะยุบ อบจ. ผมยังเห็นว่าหลักการปกครองตนเองหลักการติดตามตรวจสอบ ถ่วงดุลย์การใช้อำนาจของส่วนกลางที่กระจายตัวลงไปในภูมิภาค และท้องถิ่นไม่ให้เกินขอบเขต และ ฉ้อฉล ควรดำรงไว้และส่งเสริมให้เป็นจริงให้มาก ตราบใดที่อำนาจส่วนกลาง และภูมิภาค เข้มแข็ง ขณะที่ท้องถิ่นอ่อนแอ ทั้งนักการเมือง และข้าราชการประจำที่มาทำหน้าที่ในท้องถิ่น ไม่ฟังชาวบ้าน เท่าที่ควรเพราะชาวบ้าน ไม่ใช่ผู้ชี้เป็น ชี้ตายอนาคตของเขาเท่ากับนักการเมืองและผู้บังคับบัญชาระดับสูงในส่วนกลางนั่นเอง

ครูอารมณ์
25 มิถุนายน 2546

ไม่มีความคิดเห็น: